สกมช.ร่วม 10 มหาวิทยาลัย ปั้นคนไอที หลังพบขาดแคลนมาก

สกมช.ร่วม 10 มหาวิทยาลัย ปั้นคนไอที หลังพบขาดแคลนมาก

พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไฟเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่าง สกมช. กับ ผู้บริหาร 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ภายใต้ “โครงการการยกระดับทักษะบุคลากรรัฐเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เพื่อการฝึกอบรมเพิ่มทักษะความรู้ ความสามารถด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ

พล.อ.ต.อมร กล่าวว่า สกมช. เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 เพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ เนื่องจากประชาชนมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ก็ได้นำระบบเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างความสะดวกในการให้บริการประชาชน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ยังพบความขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยี ที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาองค์ความรู้ และต้องได้รับการส่งเสริมทักษะจนสามารถปฏิบัติงานได้ จึงนำมาสู่การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อขยายขอบเขตการพัฒนาบุคลากรให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยการเพิ่มศักยภาพให้แก่บุคลากรของรัฐ และสร้างองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาด้านเทคโนโลยีที่จะมาเป็นกำลังหลักของประเทศในอนาคต

สกมช.ร่วม 10 มหาวิทยาลัย ปั้นคนไอที หลังพบขาดแคลนมาก

“ช่วงปีแรกที่ สกมช.เริ่มทำโครงการพัฒนาบุคลากรภาครัฐในภาคกลางประมาณ 4,000 คน แต่ในความเป็นจริง ยังมีความต้องการอีกมาก เพราะทั่วประเทศมีความจำเป็นต้องใช้ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สิ่งนี้ทำให้เราตระหนักถึงความจำเป็นในความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาให้ครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ” พล.อ.ต.อมร กล่าว

พล.อ.ต.อมร กล่าวว่า ความขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีของภาครัฐนั้น ข้อมูลของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พบว่า ปัจจุบันมีจำนวนข้าราชการทั้งหมด 460,000 คน แต่มีบุคลากรด้านไอที เพียง 4,000 คน เมื่อเฉลี่ยต่อกรมแล้วมีเพียง 20 คนต่อกรมเท่านั้น ขณะเดียวกัน หน่วยงานภาคเอกชนก็มีความขาดแคลนบุคลากรด้านไอทีเช่นกัน ฉะนั้น การยกพัฒนาบุคลากรด้านไอทีจึงมีความจำเป็นอย่างมาก จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหน่วยงานการศึกษาทั้ง 10 แห่งที่ลงนามร่วมกันในวันนี้ จะเป็นแกนหลักในการขยายองค์ความรู้ให้แก่สถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั่วทุกภูมิภาค

ด้าน น.อ.หญิง ศิริเนตร รักษ์วงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สกมช. กล่าวว่า สกมช.ลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาของประเทศ 10 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรในการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้ทันต่อภัยคุกคามด้านไซเบอร์ในปัจจุบัน พร้อมยังสร้างความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน และสร้างเครือข่ายร่วมกับสถาบันการศึกษาของประเทศ โดย 10 สถาบันที่ร่วมลงนาม ได้แก่

1.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

2.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

3.มหาวิทยาลัยมหิดล

4.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

5.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

6.มหาวิทยาลัยขอนแก่น

7.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

9.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และ

10.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ chihiroyabe.com

แทงบอล

Releated